วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

พระที่นั่งอนันตสมาคม








                 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔  มีพระที่นั่งองค์หนึ่ง
ปลูกสร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวังมีชื่อว่า  พระที่นั่งอนันตสมาคม




                ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  ปรากฏว่า
พระที่นั่งอนันตสมาคมในพระบรมมหาราชวังได้ชำรุดทรุดโทรมลงมากจนยากแก่การบูรณะ
ซ่อมแซมได้ต่อไป    จึงทรงโปรดฯให้รื้อลงเสีย




                 ครั้นถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๑  รัชกาลที่ ๕  ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังดุสิตขึ้น
เสร็จแล้วโปรดฯให้สร้างพระที่นั่งขึ้นอีกองค์หนึ่งทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทรงเสด็จไปวางศิลาฤกษ์  สร้างพระที่นั่งเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑









               มีพระราชประสงค์ให้มีรูปทรงเหมือนกับวิหารเซนต์ปีเตอร์แห่งกรุงโรมและโบสถ์
เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอน  เป็นอาคารทรงโรมันของอิตาลีผสมเรอเนสซองส์  ลักษณะ
สถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนสซองส์และนีโอคลาสสิก




                        เป็นตึก ๒ ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนอิตาลี สีขาว  มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง ๑ โดม
 มีโดมเล็กๆ อีก ๖ โดม   โดมทั้งหมดทำขี้นจากทองแดง   ต่อมาเกิดสนิมเขียวตามกาลเวลา
จึงมีสีเขียวสวยงามมาก





              การออกแบบและการก่อสร้างได้ว่าจ้างช่างชาวอิตาลี มีสเตอร์ มาริโอ  ตามานโญ
( M.Tamango )  เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ     โดยมีเจ้าพระยายมราช ( ปั้น  สุขุม ) เป็นแม่กอง
ทำการก่อสร้าง


       






                 มีพระราชประสงค์เพื่อใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับต้อนรับแขกเมืองหรือประชุมราชการ
แผ่นดินตลอดจนประกอบราชพิธี  รัฐพิธีต่างๆ  เช่นการเสด็จออกมหาสมาคม  สีหบัญชร  เป็นต้น





                      การก่อสร้างพระที่นั่งองค์นี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ภายในพระที่นั่งบนเพดานโดมมีภาพเขียนเฟรสโก
( สีปูนเปียก คงทนกว่าสีที่วาดขณะปูนแห้ง   ภาพจิตกรรมฝาผนังในโบสถ์เป็นภาพวาดปูนแห้ง )




                      พระที่นั่งองค์นี้  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯพระราชทาน
นามไว้แต่แรกแล้วว่า "พระที่นั่งอนันตสมาคม" เหมือนกับนามพระที่นั่งองค์ในพระบรมมหาราชวัง
ที่รื้อลงไป       จึงนับได้ว่าพระที่นั่งองค์นี้เป็นพระที่นั่งอนันตสมาคม องค์ที่ ๒









               ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕  เป็นต้นมา   ทางราชการได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้เป็นสถานที่
จัดงานราชพิธีและประกอบรัฐพิธีเช่นรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎร  ตลอดมา
จนกระทั่งปัจจุบัน















                                       .................$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$..................




credit :   หนังสือ " เมื่อเริ่มมีสิ่งนี้ในเมืองไทย "  ทวี  วัดงาม  สำนักพิมพ์  เม็ดทราย
              www.gkoapong.multiply.com
              www.weekendhobby.com